คำนาม (Nouns) ในภาษาอังกฤษ

By | September 3, 2014

ได้ศึกษาโครงสร้างหรือรูปแบบ (Form) ของประโยคต่างๆ ตลอดจนส่วนขยาย (Modifiers) มาครบถ้วนแล้ว แต่การเขียนประโยคต่างๆ ในภาษาอังกฤษนั้น ผิดจากภาษาไทยของเราอย่างหนึ่งก็คือ ประธาน (Subject) ของประโยคจะมีผลกระทบต่อกิริยา (Verb) ซึ่งภาษาไทยเรามิได้เป็นเช่นนั้น เซ่น ฉันกินข้าว เขาผู้ชายกินข้าว เด็กกินข้าว เด็กๆ กินข้าว ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ดังนี้:-

คำนาม

ฉะนั้น การศึกษาส่วนต่างๆ ของประโยคนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเขียนประโยคให้ถูกต้อง และส่วนแรกที่ควรศึกษาก็คือ คำนาม (Noun)
คำนาม (Nouns) ในภาษาอังกฤษ

Noun (นาม)คือชื่อของสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อคน, สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้:-

1. Common Noun (นามทั่วไป) หมายถึงนามที่เป็นชื่อกว้างๆ ของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก เช่น table, car, chair, boy, girl, school etc.
2. Proper Noun (นามเฉพาะ) หมายถึง นามที่ให้รายละเอียดเฉพาะขึ้นแน่นอนขึ้น แคบขึ้น เช่น Daeng, Smith, Lex, Thammasat University

หมายเหตุ นามประเภทนี้จะเขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่เสมอ (Capital Letter)
3. Collective Noun (นามหมวดหมู่) เป็นชื่อของกลุ่ม ก้อน คณะ ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมนามต่างๆ ที่เป็นประเภทเดียวกันไว้ เช่น group, army, herd, crowd, flock, class etc.
4. Abstract Noun (นามธรรม) หมายถึง นามที่เป็นชื่อบอกถึงคุณภาพ สภาวะ หรือการกระทำ ปกติใช้จิตสัมผัส เช่น health, poverty, pleasure, youth, happiness, faith, laughter, arrival, perseverance etc.
5. Material Noun (นามวัตถุ) หมายถึง ชื่อที่เป็นเนื้อแท้ หรือธาตุที่ประกอบเป็นสิ่งของนั้นขึ้น เช่น Sugar, snow, salt, glass, iron, copper etc.

นั่นเป็นการแบ่งนามตามรูป Noun แต่ในทางไวยากรณ์เราศึกษาทางด้านหน้าที่ของ Noun ซึ่งจะมีผลกระทบในประโยค จึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้
1. Countable Noun (นามนับได้) 2. Uncountable Noun (นามนับไม่ได้)
นามชนิดที่ 1 สามารถทำรูปเป็นพหูพจน์ได้ (Plural Number) แต่นามชนิดที่ 2 นั้น มีรูปเป็นเอกพจน์ (Singular Number) เท่านั้น และนามทั้ง 5 ชนิดข้างต้น เมื่อจัดเข้ากลุ่มใหญ่ 2 ชนิด จะได้ดังนี้

Nouns อังกฤษ
หมายเหตุ มี Material Noun บางคำซึ่งใช้ได้ 2 อย่าง คือ เป็นได้ทั้ง Common Noun และ Material Noun เช่น
iron” เป็น Common Noun = เตารีด/เป็น Material Noun = เหล็ก

glass” เป็น Common Noun = แก้วน้ำ/เป็น Material Noun = กระจก

Stone” เป็น Common Noun = ก้อนหิน/เป็น Material Noun = เนื้อหิน
tin” เป็น Common Noun = กระป๋อง/เป็น Material Noun = ดีบุก

Copper” เป็น Common Noun = เงินเหรียญ/เป็น Material Noun = ทองแดง (และอื่นๆ)

ฉะนั้น คำนามประเภทเมื่อใช้ในประโยคแล้วจะต้องดูความหมายประกอบด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าใช้เป็นนามประเภทใด

Compound Nouns (นามผสม)

มีนามอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งควรจะศึกษาประกอบด้วยคือ “นามผสม” นามชนิดนี้ประกอบด้วยคำนาม 2 คำประกอบกัน และ เวลาให้ความหมายนั้น ให้ยึดนามตัวหลังเป็นหลัก (headword) ส่วนนามตัวหน้าจะทำหน้าที่เป็นตัวขยาย (Modifier) ซึ่งมีรูปหลักดังนี้
1. Noun+ Noun เช่น post office, schoolmaster, hairpin, shopkeeper, postcard, newspaper, sunshine, fire-engine, thunder¬storm, sea-serpent etc.
2. Gerund + Noun เช่น boxing-match, dining-room, writing-paper, walking-stick, swimming-pool.

นอกจากนี้อาจมีรูปที่ประกอบด้วยส่วนอื่นๆ เช่น
1. Adj. + N. เป็น quick-silver
2. Adj. + V. เป็น whitewash
3. V + N เป็น pickpocket
4. Adv + V เป็น overlook
5. N + Phrase เป็น Son-in-law

ข้อสังเกต
1. จะสังเกตเห็นว่า รูปนามผสมนั้นค่อนข้างไม่แน่นอน เช่น บางครั้งเขียนติดเป็นค่าเดียวกัน บางครั้งเขียนแยกเป็น 2 คำ บางครั้งเขียนแยกมี Hyphen (-) คั่นกลาง แต่รูปนามผสมที่แน่นอนมีอยู่รูปหนึ่ง คือ Gerund+Noun ซึ่งจะต้องใช้ Hyphen คั่นกลางเสมอ
2. Compound Noun ในรูป Adj. + N. หรือ N + N ขอให้สังเกตให้ดีด้วยว่าจะไปซ้ำกับรูป Adj. + N ในลักษณะของคุณศัพท์ขยายนามตามปกติของมันที่เรียกว่า “กลุ่มคำ” (Word Groups) เช่น a black bird, a hot house, a light house etc. ซึ่งต่างจากรูป a blackbird, a hothouse, a lighthouse และในภาษาพูด Word Groups ทุกคำจะเสียงเน้นหนัก (Stress)

แต่ Compound Noun ทั้งหลาย (รวม Compound Noun ในรูปอื่นๆ ด้วย) จะออกเสียงเน้นหนักที่คำหน้า (Front Word) เท่านั้น เช่น

a blach bird = นกสีดำทั้งหลาย (อาจเป็นนกอะไรก็ได้)/ a blackbird = นกกางเขน/a hot house = บ้านร้อน/a hothouse = ห้องกระจกสำหรับใช้เลี้ยงต้นไม้/a light house = บ้านเบา/a lighthouse = ประภาคาร/a paper basket = ตะกร้าทำด้วยกระดาษ/ a paper basket – ตะกร้าใส่กระดาษ

หน้าที่ของคำนาม (Function of Nouns)
เมื่อได้รู้จักคำนามแล้ว ควรทราบว่าเราจะใช้คำนามไปวางตรงตำแหน่ง (Position) ใดของโครงสร้างประโยค ซึ่งจำแนกออกเป็น 7 กรณี ดังนี้

1. เป็นประธานของประโยค (Subject) เช่น The boy opened the door.
2. เป็นกรรมตรง (Direct Object) เช่น I saw the boy.
3. เป็นกรรมรอง (Indirect Object) เช่น I told the boy a story.
4. เป็นกรรมของบุพบท (Prepositional Object) เช่น Give the money to the boy.    
5. สร้างโครงสร้าง Preposition Phrase เช่น I spoke to the boy.
The House of Commons.
6. เป็นส่วนสมบูรณ์ (Complement) เช่น He is a clever boy.
7. เป็น Antecedent ของ Adjective Clause เช่น The boy whom we love is Jack.

ที่มา:อาจารย์ชำนาญ  ศุภนิตย์, ดร.สัญญา  จัตตานนท์,  อาจารย์สุทิน  พูลสวัสดิ์