Preposition คือ อะไร มีวิธีการใช้อย่างไร

By | January 13, 2015

Preposition เป็นคำซึ่งใช้วางข้างหน้าคำนาม (noun) หรือ คำเสมอนาม (noun equivalent) เพื่อแสดงว่า นามคำนั้นมีความสัมพันธ์กับคำอื่นๆ อย่างไร เช่น

The book is on the table.
on เป็น preposition แสดงคววนสัมพันธ์ระหว่างคำนาม 2 คำ คือ book และ table

Preposition อาจเป็นคำเดียวโดดๆ เช่น in, on, at, after, down, since, with, under, etc. หรืออาจเป็นกลุ่มคำ (group preposition) เช่น

1. He will come instead of me.
เขาจะมาแทนฉัน

2. The teacher stood in front of the class.
ครูยืนอยู่หน้าชั้น

3. He said that for the sake of peace and quiet.
เขาพูดเรื่องนั้นเพื่อเห็นแก่สันติสุขและความสงบเงียบ

4. What did he say with regard to my proposals ?
เขาพูดอะไรเกี่ยวกับข้อเสนอของผม

5. Dang sat at the back of the room.
แดงนั่งอยู่หลังห้อง

คำ preposition หรือ group preposition รวมกับคำนามที่ตามหลัง อาจใช้เพื่อแสดงสถานที่ (place), เวลา (time), ลักษณะ (manner) หรือแสดงความมุ่งหมาย (purpose) เช่น

1. I look through the window.        Place
ผมมองออกไปทางหน้าต่าง

2. I shall go there on Friday.          Time
ผมจะไปที่นั่นในวันศุกร์

3. He spoke in a loud voice.            Manner
เขาพูดด้วยเสียงอันดัง

4. A hammer is used for knocking in nails.     Purpose
ฆ้อนใช้สำหรับตอกตะปู

ในประโยคทั้ง 4 ข้างบนนี้ คำ through, on, in และ for เป็นคำ preposition กลุ่มคำทั้งหมด ที่พิมพ์ตัวหนาเป็นกลุ่มคำที่ทำหน้าที่ adverb

ประโยคต่อไปนี้ แสดงการใช้คำๆ เดียวกันเป็น preposition และ adverb

Preposition Adverb
1. The boy came down the tree.เด็กคนนั้นลงมาจากต้นไม้ The tree blew down in the wind.ต้นไม้นั้นถูกลมพัด
2. He put the coat on the table. เขาวางเสื้อลงบนโต๊ะ He put his coat on.เขาสวมเสื้อ
3. Dang came before four o’clock.แดงมาก่อนเวลาสี่โมง I have explained that point before.ผมได้อธิบายตอนนั้นมาก่อนแล้ว
4. Ladda is in the garden.ลัดดาอยู่ในสวน I opened the door, and the cat walked in.ผมเปิดประตูและแมวตัวนั้นเดินเข้ามา

Adverbial Particle
1. He put the coat on the table.
เขาวางเสื้อตัวนั้นลงบนโต๊ะ

2. He put the coat on.
เขาสวมเสื้อตัวนั้น

ความหมาย put on ใน 2 ประโยคนี้ต่างกัน put on ในประโยคหลังมีความหมายว่า สวม ต่างจาก put on ในประโยคแรกซึ่งแปลว่า วางลงบน (ซึ่งจะต้องมีคำนามบอกต่อไปว่าบนอะไร)

มีคำกริยาหลายคำที่ใช้กับคำ adverb (ซึ่งมีรูปเดียวกับ preposition) แล้วทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น

put on, take off, come in, give up, etc.

verb ซึ่งมี adverb ตามหลังเช่นนี้ เรียกว่า phrasal verb หรือ two-word verb คำ adverb ซึ่งตามหลังกริยาบางคำเช่นนี้เรียกว่า adverbial particle (adverbial particle ตามตัวอย่างข้างบน คือ on, off, in, up)

adverbial particle จึงได้แก่ adverb บางคำซึ่งเมื่อต่อท้ายคำกริยาบางคำแล้วจะมีความหมายเฉพาะของมันเอง อาจจะมีความหมายคงเดิม เช่น take away ( = เอาไป) หรืออาจจะมีความหมายเป็นอื่นไปก็ได้ เช่น give up (=ล้มเลิก)

คำ adverb ซึ่งใช้เป็น adverbial particle นี้ โดยปกติมีรูปเช่นเดียวกับ preposition คำที่พบมากที่สุดได้แก่คำต่อไปนี้

up           in          on        over        through         by
down     out        off        away       round             back

ตำแหน่งของ adverbial particle
1. ถ้าประโยคไม่มี direct object ให้วาง adverbial particle ไว้ท้าย verb นั้น เช่น
1. Come in.
2. Do not give up whatever happens.
อย่ายอมแพ้ ( = อย่าล้มเลิก) ไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้นก็ตาม

2. ถ้าประโยคนั้นมี direct object ซึ่งเป็น personal pronoun ให้วาง adverbial particle ไว้หลังคำ personal pronoun นั้น

1. I cannot take it off.
ผมเอามันออกมาไม่ได้

2. Do this or I’ll throw you out.
ทำนะ มิฉะนั้นฉันจะโยนแกออกไปข้างนอก

3. They sent her back.
พวกเขาส่งหล่อนกลับ

3. ประโยคที่มี direct object และ object นั้นไม่ใช่ personal pronoun อาจวางตำแหน่งของ adverbial ได้ 2 อย่าง คือ (1) ในภาษาเขียน วางไว้ติดกับ verb (2) ในภาพาพูดวางไว้หลัง object

1. He put his coat on.    ภาษาพูด
= He put on his coat.     ภาษาเขียน

2. He switched the radio on.     ภาษาพูด
= He switched on the radio.      ภาษาเขียน

3. Turn the light off.        ภาษาพูด
= Turn off the light.         ภาษาเขียน

แต่ถ้าหากว่าเป็น direct object ยาวๆ แล้ว นิยมวาง adverbial particle ไว้ติดกับ verb มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน เช่น

object สั้น : He gave his books away.
object ยาว : He gave away every book that he possessed.

4. adverbial particle อาจวางไว้หน้าประโยคได้ ถ้าประโยคนั้นเป็นประโยคอุทาน ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้

(1) ถ้าประธานของประโยคเป็น personal pronoun วางกริยาไว้หลังประธานตามปกติ

1. Off they went !     (= They went off.)
2. Away it flew !       ( = It flew away.)
3. Out It comes !      ( = It comes out.)

(2) ถ้าประธานของประโยคเป็น noun หรือ pronoun อื่น (ซึ่งไม่ใช่ personal pronoun) วางกริยา ไว้หน้าประธาน

1. Off went Dang !                (= Dang went off.)
2. Away flew my hat !        ( = My hat flew away.)
3. In came the others !      ( = The others came in.)

(3) อาจใช้ adverbial particle ขึ้นหน้าประโยคอุทาน โดยไม่มี verb เช่น
1. Out with it !
เอาออกมา (เลิกเสียทีเถอะ, ออกเสียทีเถอะ)

2. Down with the grammarians !
ขอให้พวกนักไวยากรณ์จงพินาศ,
(= เจ้าพวกนักไวยากรณืทั้งหลายจงอย่าได้รุ่งเรืองเลย)

3. Away with them !
เอาไปให้พ้น
(= Take them away.)

4. Off with their heads !
จงตัดหัวเขาเสีย

ตำแหน่งของคำ preposition ท้ายประโยค
ในประโยคคำถาม นิยมวาง preposition ไว้ท้ายประโยค เช่น

Who(m) did you write to ?      คุณเขียนถึงใคร
What are you laughing at ?     คุณกำลังหัวเราะอะไร
Which class are you in ?          คุณอยู่ชั้นอะไร

แต่ถ้าเป็นข้อความที่เป็นมาตรฐาน (formal) เช่นข้อความในหนังสือสำคัญๆ นักภาษามีความเห็นว่าควรวาง preposition ไว้ข้างหน้า เช่น

At what are you looking ? คุณกำลังดูอะไร
(= What are you looking at ?)

I have a book in which I write my notes.
( = I have a book which I write my notes in.)
ผมมีสมุดเล่มหนึ่งสำหรับจดบันทึก

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วๆ ไป ปัจจุบันนี้ ทั้งคนอังกฤษและอเมริกันนิยมวาง preposition ไว้ท้ายประโยคเสมอ

ในกรณีต่อไปนี้จะต้องวาง preposition ไว้ท้ายประโยคเสมอ ไม่ว่าจะใช้ในกรณีใด

(1) ในประโยค adjective clause ซึ่งนำหน้าด้วย that หรือในประโยคที่มี what นำหน้า ให้วาง preposition ไว้ท้ายประโยคเสมอ

1. This is the kind of life that he is used to.
นี่เป็นวิถีชีวิตชนิดที่เขาเคยชิน

2. It is the thing that I have dreamed of and worked for.
นั่นเป็นสิ่งที่ผมฝันหาและทำงานเพื่อมัน

3. This is what I was looking for.
นี่คือสิ่งซึ่งผมตั้งตารอ

4. That is not what he is used to.
นั่นมิใช่สิ่งที่เขาเคยชิน

(2) ในประโยค passive voice จะต้องวาง preposition ไว้ท้ายประโยคเสมอ

1. Everything he said was laughed at.
ทุกสิ่งที่เขาพูดได้ถูกหัวเราะเยาะ

2. He is a man whose word is relied on.
เขาเป็นคนที่เชื่อถือคำพูดได้

3. That is a subject that mustn’t be spoken about.
นั่นเป็นเรื่องที่จะต้องไม่พูดถึง

อนึ่ง มีกลุ่มคำบางกลุ่มซึ่งจะต้องพูดอย่างนั้นเป็นประจำ จะโยกย้ายไปที่อื่นไม่ได้เด็ดขาด เช่น

1. I don’t know on whose authority you say that.
ผมไม่ทราบว่าคุณพูดเช่นนั้นโดยอาศัยอำนาจของผู้ใด

2. He doesn’t say by what reasoning he arrived at that conclusion.
เขามิได้แจ้งให้ทราบว่า เขาสรุปเรื่องนั้นโดยใช้เหตุผลอะไร

ที่มา:เลิศ  เกษรคำ