Category Archives: หลักภาษาอังกฤษ

ประเภทและชนิดของภาษาอังกฤษ แต่ละแบบ

ความยิ่งใหญ่ของภาษาอังกฤษ เกิดจากการแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก ย่อมเป็นธรรมดาที่ภาษาอังกฤษจะแตกกิ่งก้านสาขาออกไปต่างจากเดิมอยู่บ้าง เกิดเป็นภาษาอังกฤษชนิดต่างๆ หลายชนิด ชนิดของภาษาอังกฤษที่เราคุ้นหูมากที่สุด อาจได้แก่ ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American English) ซึ่งมักใช้คู่กับภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ (British English) นอกจากนี้ อาจได้ยินคำว่า Standard English คู่กับ Substandard English และ Formal English คู่กับ Informal English ฯลฯ American English กล่าวง่ายๆ ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันก็คือภาษาอังกฤษแบบที่ชาวอเมริกันนำมาใช้ ซึ่งมีหลายอย่างต่างไปจากภาษาอังกฤษแบบที่ชาวอังกฤษจริงๆ ใช้ (ซึ่งยังต้องพูดต่อไปอีกว่า ชาวอังกฤษจริงๆ ที่ว่านี้ คือชาวอังกฤษที่ไหน) ปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่าภาษาอังกฤษแบบอังกฤษเสียอีก ทั้งนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำของโลก มีอิทธิพลทั้งทางด้านการทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และวิธีวิทยา (technology) ทำให้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเข้าไปแทรกอยู่ในสื่อต่างๆ ทั่วโลก วารสารชั้นนำของโลก เป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หนังสือพิมพ์รายวันชั้นนำของโลก เป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ตำรา หนังสือเรียนในทุกสาขาวิชาที่พิมพ์มากที่สุดในโลก… Read More »

Present-Past-Future tense ในภาษาอังกฤษส่วนที่เหมือนและต่างกัน

เปรียบเทียบ tense ส่วนที่เหมือนกัน Present-Past-Future 1. Simple Tense เป็นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ หมายเหตุ คำ ago ใช้ใน past simple ได้ tense เดียว 2. Continuous Tense เป็นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ 3. Perfect Tense เป็นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วและดำเนินเรื่อยมา เปรียบเทียบ tense ที่ต่างกัน 1.  Past Simple กับ Present Perfect 2. Present Simple กับ Present Continuous ที่มา:เลิศ  เกษรคำ

ตัวอย่างการใช้ adverb บางคำ

quite quite อาจใช้ได้ 2 ความหมาย คือ (1) quite : โดยสมบูรณ์ (completely) The football ground was quite full. สนามฟุตบอลเต็มแน่นทีเดียว(มีคนแน่นมาก) (2) quite : พอใช้, ปานกลาง (fairly) He is quite a pianist. เขาเป็นปักเปียโนที่พอใช้ already, yet already ใช้ในประโยคบอกเล่า yet ใช้ในประโยคคำถามและปฏิเสธ 1. I have already explained this. ผมได้อธิบายเรื่องนี้มาแล้ว 2. Dang has already eaten six cakes and is starting on the… Read More »

การใช้ participle

1. ช่วยในการสร้าง tense present participle ช่วยสร้าง continuous tense He is going home. He has been living here since B.E. 2490. past participle ช่วยสร้าง perfect tense He has gone. They had lived here before I came. 2. ใช้อย่างคำ adjective คำ adjective อาจใช้ได้ 2 แบบ คือ ใช้ประกอบข้างหน้านาม (attributively) และ ใช้เป็นส่วนของกริยา (predicatively) (ก) ใช้ประกอบข้างหน้านาม (Attributive Use) present participle… Read More »

หลักการใช้ Gerund ภาษาอังกฤษ

gerund มีรูปเช่นเดียวกับ present participle คือมีรูป “กริยา + ing” ต่างกันที่การใช้ กล่าวคือ present participle มีความหมายครึ่งกริยาครึ่งคุณศัพท์ (Verbal Adjective) ส่วน gerund นี้มีความหมายครึ่งกริยา ครึ่งนาม (Verbal Noun) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า กริยานาม เพื่อให้ใกล้เคียงกับคำภาษาอังกฤษ Verbal Noun ภารกิจ (function) ของ gerund 1. ใช้ทำหน้าที่ได้อย่างคำนาม (ก) เป็นประธาน (subject) ของกริยา 1. Swimming is a good exercise. การว่ายนํ้าเป็นการออกกำลังกายที่ดี 2. Working in this condition is pleasure. การทำงานในสภาพอย่างนี้เป็นสิ่งน่าสนุก (ข) เป็น complement ของกริยา… Read More »

หลักการใช้ Probability & Likelihood

ความน่าจะเป็นไปได้ และการคาดคะ(น (probability and likelihood) อาจแสดงได้โดยใช้ adjective ต่อไปนี้ probably (noun =probability) likely (noun = likelihood, chance) 1. Is it likely that he will come ? Is it probable that he will come ? น่าจะเป็นไปได้ไหมที่เขาจะมา Is there any probability of his corning ? Is there any likelihood of his coming ? Is there any chance of… Read More »

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences)

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) เป็นลักษณะประโยคที่บอกการกระทำของกิริยาอีกลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญพอๆ กับเรื่อง “mood” เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ข้อความของประโยคในรูปแบบต่างๆ จะแสดงความหมายไม่เหมือนกัน ข้อความบางอันเป็นจริง แต่ข้อความบางอันไม่เป็นจริง เป็นแต่การสมมุติเท่านั้น ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบของประโยคเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี จึงจะเข้าใจข้อความได้ถูกต้องขึ้น ประโยคเงื่อนไขนั้น ความจริงก็คือ Adverb clause ชนิดหนึ่งที่แสดงเงื่อนไข (Condition) ซึ่งมีตัว Relative เช่น “if, unless, provided (that), suppose (that), on condition that” แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ “if’ บางตำรา จึงเรียกประโยคเงื่อนไขว่า “IF-Clause” ก็มี ชนิดของประโยคเงื่อนไข ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. เงื่อนไขที่เป็นจริง หรือเงื่อนไขที่เป็นไปได้ในอนาคต (Real Conditions or Open… Read More »

คำพูดตรงและคำพูดอ้อม (Direct and Indirect Speech)

Direct Speech (คำพูดตรง) หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดพูดกับผู้ฟังในขณะเวลานั้นในภาษาเขียนจะต้องมีเครื่องหมายคำพูด (Quotation Mark) คลุมข้อความเสมอ เช่น He said, “I am learning English” แต่ Indirect Speech (คำพูดอ้อม) หมายถึงคำพูดที่ถูกนำไปพูดหรือเล่าต่อโดยอีกบุคคลหนึ่ง หรืออาจเรียกว่า “คำพูดที่ถูกนำไปรายงาน” (Reported Speech) เครื่องหมายคำพูด (Quotation Mark) จึงไม่ต้องใส่อีกต่อไป เช่น Direct Speech : “I am learning English” Indirect Speech: He said that he was learning English. จะสังเกตเห็นว่า จากรูปแบบของ Direct Speech เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของ Indirect Speech จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการด้วยกัน เช่น เรื่อง… Read More »

การแสดงความเป็นเจ้าของของคำนาม (The Possessive case of Nouns)

รูปที่แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามนั้น ถือว่ามีผลกระทบต่อกิริยา (Verb) ในประโยคด้วย เพราะอาจเป็นประธานของประโยคได้ และรูปของมันนั้นจะต้องประกอบด้วยคำนาม 2 คำเสมอ เช่น the boy’s books และ the book of the boys เมื่อเป็นเช่นนี้ จะต้องทราบว่านามตัวใดคือประธานของประโยคที่แท้จริง ซึ่งจะต้องกระทบกิริยาในประโยคต่อไป จะสังเกตเห็นว่าถ้าแสดงด้วยรูป Apostrophe (‘) คำนามที่อยู่หลังมันจะเป็นประธานที่แท้จริง คำนามข้างหน้าเป็นแค่คุณศัพท์ส่วนแสดงด้วย “of” คำนามข้างหน้าเป็นประธานที่แท้จริง ส่วนคำข้างหลังจะเป็นคำคุณศัพท์ (=Preposition Phrase) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. การแสดงความเป็นเจ้าของ ของคำนามนั้น มีวิธีสร้างรูปแบบ ดังนี้ (1.1) สำหรับคำนามเอกพจน์ โดยการเติม ‘s’ เช่น The boy’s book (= the book of the boy) Tom’s house (= the… Read More »

คำบุพบท (Prepositions and Adverbial Particles) ภาษาอังกฤษ

คำบุพบทมีบทบาทมากมายในเรื่องของไวยากรณ์ จึงสร้างความยุ่งยากให้แก่นักศึกษาต่างชาติมาก เพราะมีหลักเกณฑ์น้อยมากที่จะบอกว่าควรจะใช้คำบุพบทคำนี้และไม่ควรใช้คำบุพบทคำนั้นในบริบท (Context) หนึ่งๆ เนื่องจากไม่มีเหตุผลทางตรรกวิทยาที่จะถือเป็น กฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ จะสังเกตได้จากสำนวนต่างๆ (Idioms) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำบุพบทโดยตรงนั้นเป็นรูปเฉพาะของภาษาที่ขึ้นอยู่กับการใช้ (Usages) เป็นหลัก เช่น “get on” = to mount และ “get off” = to descend, etc. เราไม่มีคำตอบอย่างมีเหตุผลเลยว่า ทำไม “get on” จึงต้องแปลว่า “to mount” หรือ “get off” ถึงต้องแปลว่า “to descend” เป็นต้น เรามีวิธีเดียวที่จะศึกษาสิ่งเหล่านี้ให้ได้ผลก็คือ มีพจนานุกรม (a dictionary) ที่ดีๆ สักเล่มและอ่านหนังสือให้มากๆ พร้อมกับมีสายตาที่แหลมคมคอยสังเกตและจดจำการใช้สำนวนต่างๆ ที่เขาใช้อยู่กันทั่วไปเท่านั้น ฉะนั้น ในบทนี้จะเป็นการรวบรวมข้อสังเกตทั่วๆ ไปเกี่ยวกับการใช้คำบุพบท และให้ตัวอย่างการใช้คำบุพบทที่สำคัญๆ ซึ่งอาจจะก่อความยุ่งยากให้นักศึกษาได้ คำบุพบท (Prepositions)คือ คำที่ใช้กับคำนาม… Read More »