adverb ในภาษาอังกฤษ

By | December 24, 2014

การจำแนกชนิด (classification) ของคำ adverb
การจำแนกชนิดอาจทำได้ 2 อย่าง คือ จำแนกชนิดโดยถือหน้าที่ของมันเป็นหลัก (Classification by Function) และจำแนกชนิดโดยถือตำแหน่งของมันเป็นหลัก (Classification by Position) ซึ่งจะกล่าว โดยลำดับดังต่อไปนี้

การจำแนกชนิดโดยถือหน้าที่เป็นหลัก
1. Adverb of Manner (ตอบคำถาม How ?)
ได้แก่ adverb ที่บอกว่าการกระทำนั้นได้กระทำไปอย่างไร

1. The little boy behaves badly.
เด็กคนนั้นประพฤติไม่ดี(ประพฤติอย่างไร? ประพฤติไม่ดี)

2. The birds sang sweetly.
นกเหล่านั้นร้องเพลงอย่างไพเราะ(ร้องอย่างไร? ร้องอย่างไพเราะ)

3. Every soldier fought bravely.
ทหารทุกคนต่อสู้อย่างกล้าหาญ (สู้อย่างไร? สู้อย่างกล้าหาญ)

คำ adverb of manner ที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
actively      อย่างกระฉับกระเฉง       anyhow    อย่างไรก็ดี
boldly         อย่างกล้าหาญ                calmly    โดยสงบ
carefully    อย่างรอบคอบ                 distinctly    อย่างเห็นได้ชัด
easily          โดยง่าย                             equally    โดยเท่าเทียมกัน
fast               อย่างรวดเร็ว                     gladly    อย่างดีใจ
how              อย่างไร                              intentionally    โดยตั้งใจ
late               สาย, ล่า                             promptly    อย่างไม่ชักช้า
quickly       อย่างเร็ว                             quietly    อย่างเงียบ
simply        โดยง่าย, อย่างธรรมดา    sincerely    โดยจริงใจ
still              โดยสงบนิ่ง                         suddenly    ในทันใด
together    ร่วมกัน                                  willingly    โดยเต็มใจ
wisely         อย่างฉลาด                        wrongly    อย่างฝืดๆ

2. Adverb of Time (ตอบคำถาม When ?)
ได้แก่ adverb ที่บอกว่าการกระทำนั้นบังเกิดขึ้นเมื่อไร

1. I will do the work tomorrow.
ผมจะทำงานนั้นพรุ่งนี้

2. But you must do yours now.
แต่คุณจะต้องทำงานของคุณเดี๋ยวนี้

3. What’s going to happen next ?
อะไรจะบังเกิดขึ้นในอันดับต่อไปอีกล่ะ

คำ adverb of time ที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
after, afterwards    ภายหลัง               already    เรียบร้อย
before    ก่อน                                            immediately    ทันที
late, lately     ล่า, เมึ๋อเรีวๆ นี้ (อดีต)    once    ครั้งทนํ่ง
presently    ในเร็วๆ นี้ (อนาคต)           shortly    ไม่นาน
soon     ไม่ช้า, เร็ว                                     still    ยัง
when    เมื่อ                                                 yet    ยังคง

และ today, tomorrow, yesterday, tonight

มี adverb of บางคำซึ่งแสดงความบ่อย, ความสม่ำเสมอ เรียกว่า Adverb of Frequency ได้แก่คำ adverb ที่บอกว่าการกระทำนั้นได้กระทำบ่อยหรือไม่, เป็นประจำหรือไม่

คำ adverb of frequency ที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
always    เสมอๆ                             often    บ่อยๆ
frequently      ถี่, บ่อยๆ                seldom    ไม่ใคร่จะ
sometimes    บางครั้ง                  hardly ever    แทบจะไม่
continually    ติดต่อกันไป         generally    เป็นปกติ, เป็นประจำ
occasionally    ในบางโอกาส    rarely    ไม่ใคร่จะ, นานๆ ครั้ง
scarcely    น้อยนัก, ไม่ใคร่จะ     never    ไม่, ไม่เลยทีเดียว

1. He always does his work well.
เขาทำงานได้ดีเสมอ(ทำงานดีบ่อยไหม-เสมอทีเดียว)

2. She has never done that before.
(หล่อนทำงานนั้นบ่อยไหม) หล่อนไม่เคยทำเลยทีเดียว

3. He is sometimes right.
(เขาทำถูกต้องบ่อยไหม) บางครั้งเขาก็ถูก

4. We hardly ever see you now; you are scarcely ever at home.
หมู่นี้เราไม่ใคร่ได้พบคุณ คุณไม่ค่อยจะอยู่บ้าน

คำ ever (เคย) ไม่ใช้ในประโยคบอกเล่า จะใช้เพียงในประโยคคำถาม หรือในประโยค conditional

1. Do you ever see George now that he has left London ?
2. If you ever see George, give him my kind regards.

3. Adverb of Place (ตอบคำถาม Where ?)
ได้แก่ adverb ที่บอกว่า การกระทำนั้นได้กระทำที่ไหน

1. I shall stand here.
ฉันจะยืนที่นี่

2. The child opened the door of the cage and the bird flew out.
เด็กคนนั้นเปิดประตูกรง และนกก็บินออกไป

3. I’ve looked everywhere for my pen.
ผมค้นหาปากกาของผมทุกหนทุกแห่ง

คำ adverb of place ที่ใช้กันบ่อยๆ ได้แก่
above              บน                abroad          ต่างประเทศ    across    ข้าม
along                ตามทาง     around          รอบๆ                 away      ออกไป
back                 หลัง             below             ใต้                     down      ล่าง
downstairs    ชั้นล่าง        in                      ใน                     on           บน
nowhere         ไม่มีที่ไหน  somewhere   ที่ใดที่หนึ่ง      up          บน
through           ตลอด         under              ใต้                     near      ใกล้
upstairs          ชั้นบน         where               ที่ซึ่ง                there     ที่นั่น

4. Adverb of Degree
ได้แก่ adverb ที่แสดงว่า การกระทำนั้นได้กระทำในระดับความมากน้อยหรือความแน่นอนเพียงไร

1. This coffee in very bad.
กาแฟนี้เลวมาก

2. It has been a long journey but we are nearly there now.
เป็นการเดินทางที่ยาวนานทีเดียว แต่บัดนี้เราก็ใกล้ที่นั่นเข้าไปแล้ว

3. Are you quite sure we are on the right road ?
คุณแน่ใจทีเดียวหรือว่า เรามาถูกถนนแล้ว

4. He spoke too quickly for me to follow him.
เขาพูดเร็วเกินไปสำหรับผมที่จะตามเขาทัน

หมายเหตุ adverb of degree ส่วนใหญ่มักจะใช้ขยาย adjective หรือ adverb (แทนที่จะขยาย verb) เช่น

very good        quite sure        too quickly
nearly there     all right

คำ adverb of degree ที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
very                   มาก                               quite              ทีเดียว
too                     เกินไป                           nearly            เกือบ
completely     อย่างสมบูรณ์                absolutely   อย่างสิ้นเชิง
deeply              อย่างลึกซึ้ง                   distinctly      อย่างเด่นชัด
enormously   อย่างมโหฬาร               entirely         ทั้งหมด
greatly             อย่างใหญ่ยิ่ง                 equally          อย่างเท่าเทียมกัน
exactly            โดยแท้จริง, แน่นอน    extremely    อย่างสุดยอด
just                    อย่างเหมาะ, พอดี        much              มาก
practically     ในทางปฏิบัติ                perfectly       โดยสมบูรณ์
slightly           อย่างเบาบาง                  rather            ค่อนข้าง

5. Adverb of Question ได้แก่ adverb ที่ทำหน้าที่เป็นคำแสดงคำถาม

1. When were you born ?
2. Where are you going ?
3. How did you come here ?
4. Why did you say that ?

6. Adverb of Quantity ได้แก่ adverb ที่แสดงปริมาณของการกระทำนั้น

1.Dang works very little; not nearly as much as Det does.
แดงทำงานน้อยมาก ไม่มากเท่ากับเดช

2. Ladda has won the prize twice; ท9 one else has won more than once.
ลัดดาได้รางวัลนั้นมาแล้วสองครั้ง ไม่เคยมีใครคนอื่นที่ได้รางวัลนั้นมากกว่าครั้งเดียวเลย

นอกจากนี้ยังมี adverb เบ็ดเตล็ดอื่นๆ อีก เช่น

Adverb of Affirmation (แสดงการรับ) เช่น
yes                       certainly         indeed             naturally
precisely           surely               willingly         entirely
absolutely        decidedly        evidently        obviously
well                     of course

โดยปกติคำเหล่านี้ ใช้ในการตอบรับสั้นๆ เช่น
1. Shall I take this ?
ผมจะเอาอันนี้ได้ไหม
Yes, certainly.
ได้แน่นอน, เอาไปเลย

2. Will you go to the movies
with me ?
คุณจะไปดูหนังกับผมไหม
Willingly.
ด้วยความเต็มใจค่ะ

3. Are you sure he is Dr. Hyde ?
คุณแน่ใจหรือว่าเขาคือ ดร. ไฮด์
Evidently.
แน่ใจอย่างมีหลักฐานทีเดียว

4. Do you love Thailand ?
คุณรักเมืองไทยไหม
Of course.

แน่นอน

Adverb of Negation (แสดงการปฏิเสธ) เช่น no, never

1. Will you do what he wants ?
คุณจะทำตามที่เขาประสงค์ไหม
Never !
ไม่มีวันเสียละ

2. Are they there ?
พวกเขาอยู่ที่นั่นหรือเปล่า
No.
เปล่า

Adverb of Probability (แสดงความไม่แน่นอน) เช่นคำว่า perhaps, maybe ซึ่งมีความหมายว่า บางที

การจำแนกโดยถือตำแหน่งเป็นหลัก
ตำแหน่งของคำ adverb อาจจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
1. adverb ที่วางไว้หน้าประโยค (Front-Position)
2. adverb ที่วางไว้กลางประโยค (Mid-Position)
3. adverb ที่วางไว้ท้ายประโยค (End-Position)

Front-Position
adverb ที่มีตำแหน่งอยู่ข้างหน้าประโยคเสมอ ได้แก่

(1) adverb ที่แสดงคำถาม เช่น
Where are you going ?
Why did you say that ?

(2) adverb ที่แสดงการยอมรับและปฏิเสธ เช่น
Yes, I know him.
No, that is not correct.

(3) adverb ที่ขยายความทั้งประโยค เช่น
Still, in spite of what you say, I don’t think it is true.
ถึงยังงั้นก็ตาม ทั้งๆ ที่คุณพูดอย่างนั้น ผมก็ไม่เชื่อว่าจริง

(4) ในประโยคอุทานมักนิยมเอา adverb นำหน้าประโยค เช่น
Away they went ! (= They went away). พวกเขาไปแล้ว
Here he comes !    เขามานี่แล้วไง
There goes Helen !    เฮเลนไปโน่นแล้ว
How well he speaks English !    เขาพูดอังกฤษได้ดีจริง

5. เมื่อต้องการเน้นถึง adverb ตัวนั้น ก็อาจวางไว้หน้าประโยคได้ เช่น
Sometimes he sits and thinks.
Yesterday I went to a football match.
Today I am playing tennis, etc.

ประโยคข้างบนนี้ ถ้าจะพูดตามธรรมดาก็จะเป็นดังนี้
He sometimes sits and thinks.
I went to a football match yesterday.
I am playing tennis today, etc.

ต่อไปนี้เป็นบัญชีคำ และกลุ่มคำที่อาจวางไว้ข้างหน้าประโยคได้
afterwards                              there                therefore
anyhow                                    so                      soon
once                                          fortunately    luckily
evidently                                 possibly         suddenly
then                                           usually            naturally
now                                            however         yet
only                                           originally        personally
eventually (ท้ายที่สุด)         –                          accordingly (ด้วยเหตุนี้)
consequently                         –                         first (second, third, etc.)
by and by                                 –                         up to now
before then                             –                         until then
just then                                   –                         just now
by now                                      –                         every day
of course                                  –                         how fair
how long, how much           –                         how often
in the future                            –                         later on
all at once                                 –                        some day
sooner or later                       –                         etc.

การสลับประธานและกริยากับคำ adverb
(Inversion of Subject and Verb with Adverbs)
คำ adverb ซึ่งโดยปกติอยู่ภายในประโยคนั้น อาจนำไปขึ้นต้นประโยคได้เพื่อแสดงการเน้น (การกลับประโยคเช่นนี้ใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น ไม่ใช้ในภาษาพูด)

การกลับเอาคำ adverb ไปนำหน้าประโยคเช่นนี้ ต้องเรียงคำในประโยคเสมือนหนึ่งเป็นประโยคคำถาม เช่น

1. Often have I heard it said that he is not to be trusted.
( = I have often heard it …)
บ่อยทีเดียวที่ผมได้ยินคนพูดกันว่าเขาเป็นคนไม่น่าไว้ใจ

2. Twice within my lifetime have world wars taken place.
(=World wars have taken place twice within my lifetime.)
ในชั่วชีวิตของผมนี้ ได้มีสงครามโลกเกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง

3. Many a time as a boy have I climbed that hill.
ผมเคยปีนภูเขานั้นหลายครั้งเมื่อยังเป็นเด็ก

4. Near the school was a famous cottage.
ที่ใกล้ๆ โรงเรียนมีกระท่อมซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายอยู่หลังหนึ่ง

5. By his side sat his faithful dog.
ข้างๆ เขามีหมาที่ซื่อสัตย์(ของเขา)นั่งอยู่

6. Such was the tale he told me.
นั่นเป็นเรื่องราวที่เขาได้บอกแก่ฉัน

7. In no circumstances would I agree to such a proposal.
ไม่ว่าจะกรณีใด ผมก็จะไม่เห็นด้วย (ตกลง) ตามข้อเสนอเช่นนั้น

8. No sooner had they gone when I entered.
พอเขาไปผมก็เข้ามา

Mid-Position
Mid-position Adverb ได้แก่ adverb ที่แทรกอยู่ภายในประโยค Adverb พวกนี้ได้แก่ adverb of frequency เช่น sometimes, always, often, every day, etc. รวมทั้งคำ adverb ต่อไปนี้ คือ almost, nearly, quite, hardly, just.

การวางตำแหน่ง
ถ้าประโยคมีกริยาตัวเดียวโดด ๆ ให้วางไว้ข้างหน้ากริยานั้น เช่น
I         always        sleep        with my windows open.
He     never          forgets    his wife’s birthday.
We    often           wish         you lived here.
I         almost        forgot      to tell you this.
I         hardly         know       how to thank you.
He      just             came        to visit us.

แต่ถ้าเป็น verb to be หรือมีกริยาพิเศษ ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยอยู่ด้วยแล้ว ให้วางไว้หลังกริยาพิเศษนั้น

Dang’s work        is           always    carefully done.
Dang                      was        never     a good footballer.
You                        should  never     do it again.
The baby             can        nearly    walk.
They                     are         just          leaving the house.

อย่างไรก็ตาม ในประโยคที่ต้องการแสดงการเน้น ถ้าวาง adverb ไว้ข้างหน้ากริยาพิเศษ (anomalous) ก็จะทำให้ประโยคหนักแน่นขึ้น เช่น

1. Dang’s work seems carefully done. It always is carefully done.
งานของแดงดูท่าว่าจะเรียบร้อยดี งานของเขาเรียบร้อยอยู่เสมอทีเดียว

2. Det isn’t a very good footballer. He never was a real footballer.
เดชไม่เป็นนักฟุตบอลที่ดีนักหรอก เขาไม่เคยเป็นนักฟุตบอลที่แท้จริงเลย

ในประโยคกล่าวตอบสั้นๆ (short answer) ซึ่งใช้กริยา anomalous ตัวเดียว ต้องวาง adverb ไว้ข้างหน้า anomalous นั้นๆ เช่น

A : Dang’s work seems carefully done.
งานของแดงรู้สึกว่าจะทำรอบคอบดี
B : It always is.
ก็เป็นยังงั้นเสมอแหละ

A : Det isn’t a good footballer.
เดชไม่ใช่นักฟุตบอลที่ดี
B : He never was.
เขาไม่เคยเป็นนักฟุตบอลที่ดีเลย

A : Can I get a good lunch on the train ?
ผมพอจะหาอาหารดีๆ บนขบวนรถได้ไหม
B : You sometimes can.
บางทีก็อาจจะได้

End-Position
ประโยคทั่วๆ ไปส่วนใหญ่จะมีรูปประโยคดังนี้

ประธาน + กริยา + กรรม + adverbial

ดังนั้น adverb โดยปกติจึงวางไว้ท้ายประโยคเสมอ (มีหลักอยู่ข้อหนึ่งว่า จะเอาคำ adverb แทรกเข้าตรงกลางระหว่าง verb กับ object ไม่ได้เด็ดขาด เช่น She sang that song. ถ้าจะใช้ beautifully มาขยายความ คำว่า sang ก็จะต้องวางไว้ท้ายประโยค เป็น She sang that song beautifully. จะพูดว่า She sang beautifully that song. อย่างนี้ไม่ได้

แต่มี adverb บางคำที่จะวางไว้ท้ายประโยคไม่ได้ คือ adverb ที่แสดงการปฏิเสธ ได้แก่ not, hardly ( = ไม่ใคร่จะ), scarcely ( = ไม่ใคร่จะ, น้อยเต็มที), never ( = ไม่เคย) และ adverb of degree เช่น very, too, so, quite, almost

ยังมีกริยาบางคำ ซึ่งมี adverb ตามท้ายเสมอ จึงจะมีความหมายเฉพาะขึ้นมา (ถ้าใช้กริยาตัวนั้น ลำพังตัวเดียวจะไม่มีความหมายเช่นนั้น) เช่น คำว่า turn off, take off, put on    เป็นต้น

adverb ที่ตามหลังกริยาทำนองนี้ มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ verb ข้างหน้า แต่ในภาษาพูด นิยมวางไว้ข้างหลัง object เช่น

turn on the lamp         =    turn the lamp on
switch on the radio    =    switch the radio on
put on his hat                =    put his hat on
take off your shoes    =    take your shoes off
lift up the table             =    lift the table up

แต่ถ้า object เป็นคำ pronoun จะต้องแยก adverb ไปไว้ข้างท้ายหลัง pronoun เสมอ เช่น

ถูก : turn it on            ผิด : turn on it
ถูก : switch it off       ผิด : switch off it
ถูก : take them off    ผิด : take off them

ที่มา:เลิศ  เกษรคำ