อนุประโยค (Subordinate Clause) ภาษาอังกฤษ

By | December 24, 2014

อนุประโยค (Subordinate Clause) คือ กลุ่มคำ (a group of words) ที่มีกิริยาแท้ (Finite Verbs) แต่ไม่มีความหมายสมบูรณ์ในตนเอง
(Incomplete meaning)

เมื่อเป็นกลุ่มคำที่มีกิริยาแท้ (Finite Verb) จะต้องมีผู้แสดงกิริยาหรือประธาน (Subject) และถ้ากิริยาแท้นั้นเป็นสกรรมกิริยา (Transitive Verb) จะมีกรรม (Object) ตามและถ้ากิริยาแท้เป็น Verb to BE หรือกิริยาเทียบเท่า Verb to BE จะต้องมีส่วนสมบูรณ์ของประธาน (Subjective Complement) หรืออาจเป็น Objective Complement แล้วแต่กรณี แต่กลุ่มคำดังกล่าวนี้ไม่มีใจความสมบูรณ์ใน ตัวเอง (Incomplete meaning) จึงไม่สามารถอยู่โดยลำพังกลุ่มคำเดียวได้ จะต้องพึ่งพาอาศัย ส่วนประโยคใหญ่ หรือที่เรียกว่า “มุขยประโยค” (Main Clause) เสมอ ฉะนั้น ส่วนอนุประโยคนี้จะต้องมีตัวเชอม (Relative) เพื่อใช้เกี่ยวติดกับส่วนมุขยประโยคเสมอ แต่บางครั้ง ตัวเชื่อมอาจเป็นประธานของ Clause ก็ได้ จึงต่อด้วยตัวกิริยา (Verb) เลย ดังนั้น ถ้าจะเขียนเป็นสูตรอนุประโยค (Sub. Clause) จะได้ดังนี้
R + (S) + V + (O) หรือ (S.C) หรือ (O.C)

อนุประโยค (Subordinate Clause) แบ่งตามหน้าที่ (Function) ออกเป็น 3 ชนิด เช่นเดียวกับวลี (Phrase) คือ

(1) Noun Clause (2) Adjective Clause (3) Adverb Clause
แต่ก่อนที่จะศึกษา Clause ทั้ง 3 ชนิดโดยละเอียด ขอให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเชื่อม (Relative) สักเล็กน้อยเพราะถือเป็นตัวสำคัญในการบอก Clause ซึ่งสรุปได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ ดังนี้

1. Question Words 2. Conjunctions

Question Words (คำที่ใช้สร้างคำถาม) นั้นเราได้ศึกษาไปบ้างแล้วในบทที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวที่ใช้สร้างคำถาม (Questions) แต่หน้าที่อีกอย่างหนึ่ง คือ ใช้ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม (Relative) Clause ได้อีก ซึ่งเราจะศึกษาได้จากการสร้าง Clause ทั้งหลาย

ส่วน Conjunctions (สันธาน) จะกล่าวถึงโดยสังเขปเพื่อใช้ทำความเข้าใจ กล่าวคือ Conjunctions นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. Co-ordinating Conj. (Conj. ที่ใช้เชื่อมประโยคต่างๆ ที่มีน้ำหนักทางความหมายเท่ากัน)
2. Subordinating Conj. (Conj. ที่ใช้เชื่อมประโยคที่มีน้ำหนักทางความหมายไม่เท่ากัน)

ฉะนั้น จะเห็นว่า Conj. ที่จะนำมาใช้เป็นตัวเชื่อม (Relative) ใน Clause ก็คือ Subordinating Conj. นั่นเอง ซึ่งแยกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. Sub. Conj. ใช้นำ Noun Clause
2. Sub. Conj. ใช้นำ Adverb Clause

Sub. Conj. ที่ใช้กันบ่อยๆ ที่สุดคือ that, when, where, while, before, after, till, until, it, unless, since, because, (at) though, as

Noun Clause คือ Clause ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม (Noun) ตัวเชื่อม (Relative) ของมันคือ Question Words ทุกคำ และ that, if, whether (or not) เช่น


ข้อสังเกต สำหรับ Question Words ทั้งหลายเมื่อใช้เป็นตัวเชื่อม (Relative) ของ Clause แล้ว ยังไม่ทอดทิ้งฐานหน้าเดิมของคำ จะเห็นว่า ถ้าใช้ Question Words  ซึ่งมีฐานหน้าที่จากคำสรรพนาม (Pronoun) จะใช้เป็นประธาน (Subject) หรือกรรม (Object) หรือส่วนสมบูรณ์ (Complement) ของ Clause ได้ แต่ถ้าใช้ Question Words
จะใช้เป็น Adverb เท่านั้น

ได้กล่าวแล้วว่า Noun Claues นั้น คือ Clause ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม (Noun) จึงทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้

ข้อสังเกต

1. N.CI. ที่ตามหลัง “possible” จะต้องใช้ “may” หรือ “might” ใน Cl. เสมอ
2. N.CI. ที่ตามหลัง “impossible” จะต้องใช้ “should” ใน CI. เสมอ
3. N.CI. ที่ใช้ในลักษณะนี้จะใช้ “that” เป็น Relative
4. ความหมายของ N.CI. คือ สิ่งเดียวกันกับคำนาม (Nouns) ที่อยู่ข้างหน้า ในลักษณะเช่นนี้ขอให้สังเกตให้ดีเพราะอาจจะคิดสับสนไปหาเป็น Adj.Cl.”
5. “It” ที่ใช้ในตัวอย่าง 2 ประโยคสุดท้ายเป็น Impersonal Pronouns
ฉะนั้น จะเขียนประโยค 2 ประโยคนี้ได้อีกลักษณะหนึ่งซึ่งมีความหมายเดียวกันทุกอย่าง คือ

ข้อสังเกต
1. N.CI. ที่ใช้ในลักษณะเช่นนี้ใช้ “that” เป็น Relative เช่นกัน
2. นักไวยากรณ์บางท่านยังไม่เห็นด้วยว่าจะถือเป็น N.CI. เพราะตามหลักไวยากรณ์การวาง Clause นั้น อยู่หลังคำ Adj. เหล่านั้นถือว่า Clause .นั้นจะต้องขยายคำ Adj. นั้นจึงถือว่าเป็น Adv.CI. แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่า หลังคำ Adj. เหล่านั้น จะต้องมี Preposition ตามหลังอยู่เสมอ เช่น certain of, glad of, afraid of, confident of, sorry for, และ sure of

ฉะนั้น Clause ที่ตามมาข้างหลังจะต้องมีหน้าที่เป็น Prepositional Objects ซึ่งก็คือหน้าที่ของ Noun Clause นั่นเอง

อนึ่งตัวเชื่อม (Relative) ใน Noun Clause อาจละได้ในกรณีที่ตัวเชื่อมนั้นคือ “that” และใช้นำ Noun Clause ที่ทำหน้าที่กรรม (Object) ของ Main Clause หรือนำ Noun Clause ที่ตามหลัง Adjective เช่น
I knew that he did it หรือ I am afraid that you are right.
=I knew he did it.
= I am afraid you are right.

บางครั้งรูป N.CI. อาจเขียนยุบเป็น Infinitive Phrase ได้เมื่อประธานของ M.CI. และประธานของ N.CI. เป็นคนๆ เดียวกัน เช่น

I don’t know what I should do. = I don’t know what to do.

Adjective Clause คือ Clause ที่ทำหน้าที่เหมือนคุณศัพท์ Clause ชนิดนี้มีตัวเชื่อม (Relative) เฉพาะ เพราะคำนาม (Noun) ซึ่งถูก Clause ขยายเรียกว่า “Antecedent” นั้นเป็นตัวกำหนดตัวเชื่อมเอง ดังนี้:-

Antecedent

(คำนามที่ถูก CI. ขยาย)

 

Function of Relative

(หน้าที่ของตัวเชื่อมใน CI.)

Relative

(ตัวเชื่อมที่ต้องใช้)

 

 

คน S.ของ CI. Who, that
คน O ของ CI. Whom (that)
คน Prep. O Prep. Whom, (that)…prep.
คน Possessive (แสดงความเป็นเจ้าของ) whose
สัตว์,สิ่งของ S และ O ของ CI. Which, that
สัตว์,สิ่งของ Prep. O Prep. Which, (that)..prep.
สัตว์,สิ่งของ Possessive(แสดงความเป็นเจ้าของ) Of which

หมายเหตุ

1. Adjective Clause ในกรณีที่ตัวเชื่อมมีหน้าที่เป็นกรรมของบุพบทนั้น สามารถเขียนได้อีกอย่างหนึ่งโดยการวางคำถามตำแหน่งเดิม คือ The man whom I wrote the letter to is Mr. Brown.
2. ตัวเชื่อม (Relative) ทั้งหลายที่กล่าวในตาราง จะเห็นว่า “that” นั้นใช้แทน who, whom, which ได้ แต่ยังมีกฎเพิ่มเติมที่จะต้องใช้ “that” เป็นตัวเชื่อมอย่างเดียวเท่านั้นในกรณีต่อไปนี้:-
1. ในกรณี    M.Cl. มีการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดอยู่(Superlative Degree) เช่น
She is the most beautiful girl that I have ever seen.

2. เมื่อ Antecedent เป็นคำเหล่านี้ all, any, none, nothing, (the) only Man is the only animal that can talk.

3. ใช้ตามหลัง Question Words “who, what”
Who am I that he should object? What is it that troubles you so much?

4. เมื่อ Ant. มี 2 คำ คำหนึ่งเป็นคน และอีกคำหนึ่งเป็นสัตว์ หรือสิ่งของ เช่น
The boy and his dog that broke into my house were caught this morning.

นอกจากตัวเชื่อม (Relative) ที่แสดงไว้ในตารางแล้ว ยังสามารถใช้ตัวเชื่อมต่อไปนี้
When ถ้า Ant.=Time หรือใช้ at which, on which แทน
When ถ้า Ant.=Place หรือใช้ in which แทน
Why ถ้า Ant.=Reason หรือใช้ for which แทน
How ถ้า Ant.=Method หรือใช้ by which
But = who (which)…..not

Adjective Clause โดยทั่วไปจะใช้ใน 2 ลักษณะ ดังนี้:-

(1) Defining Clause (2) Non-defining Clause

Defining Clause หมายถึง Clause ที่จำเป็นในการขยาย Antecedent อย่างยิ่ง ซึ่งจะเขียนติดกับ Antecedent เลยโดยไม่ต้องมีเครื่องหมายวรรคตอน (punctuation) คั่น

Non-defining Clause หมายถึง Clause ที่ไม่จำเป็นในการขยาย Antecedent นั้น และในภาษาเขียนจะใช้ comma (,), dash (-)
หรือ parenthesis ( () ) คั่น Clause เสมอ และในภาษาพูดจะหยุด (pause) หน้าเครื่องหมายเหล่านี้

การที่เราจะทราบว่า Adj. Cl. ที่ขยาย Antecedent นั้นจะเป็น Clause ชนิดใดให้สังเกต Antecedent เป็นหลัก ดังนี้

1. ถ้า Antecedent เป็น Common Noun (นามสามัญ) ซึ่งมีความหมายกว้างๆ ยังไม่ชัดเจน ฉะนั้น Adj. Cl. ที่ขยายนั้นถือว่าจำเป็นที่จะต้องให้รายละเอียด Antecedent ตัวนั้นจึงเป็น Defining Clause

2. ถ้า Antecedent เป็น Proper Noun (นามวิสามัญ) ซึ่งมีความหมายชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว เช่น ชื่อคน สัตว์ สถานที่ทั้งหลาย หรืออาจจะเป็น Common Noun ที่มีคำ Adj. ขยายอยู่ข้างหน้าและทำให้เกิดความหมายชี้เฉพาะขึ้น Clause ที่ขยาย Antecedent ประเภทนี้เป็น Non-defining Clause เช่น
Bernard Shaw, who wrote St.Joan, died in 1950.
The Golden Hind – in which Drake sailed round the world – was only a small ship.

That scientist (whose work is very important) has been made a knight.

ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Defining Clause และ Non-defining Clause ให้ดี เพราะถ้าใช้ผิดพลาดไปแล้วอาจก่อให้เกิดความเข้าใจสับสนได้ เช่น
All the books, which had pictures in them, were sent to the little girl. (= เด็กหญิงเล็ก ๆ นั้นได้รับหนังสือทุกเล่ม)

All the books which had pictures in them were sent the little girl. (=เด็กหญิงเล็กๆ ได้รับหนังสือที่มีภาพเท่านั้น)

He has a brother, who is an artist. (= เขามีพี่เพียงคนเดียวและพี่ของเขาเป็นศิลปิน)

He has a brother who is an artist. (= เขามีพี่หลายคนแต่คนหนึ่งเป็นศิลปิน)

อนึ่ง ตัวเชื่อม (Relative) ใน Adj. Cl. อาจละได้ในกรณีต่อไปนี้
1. เมื่อ Relative นั้นทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ภายใน Clause เช่น

2. ในกรณีที่ Adj. Cl. ถูกนำด้วย “there + BE” เช่น
The 9:15 is the fastest train that there is to Oxford. = The 9:15 is the fastest train there is to Oxford.

I asked for the best book that there was on the subject. = I asked for the best book there was on the subject.

Adverb Clause คือ Clause ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ Adverb
ตัวเชื่อม (Relative) ที่ใช้ใน Adv. Cl. นั้นมีมากมาย มากกว่าที่ใช้ใน Clause ทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งจำแนกตามความหมายที่ใช้ไว้เป็น 9 กลุ่ม ดังนี้

ข้อสังเกต Adv. Cl. ที่แสดงความหมายบอกอาการกระทำที่ใช้กับ as if หรือ as though นั้น จะตามด้วยรูป “Past Subjunctive”

I learned a lot of French while I was in Paris.

She learned English before she came to England.
He kept on with his work until he had finished it.
The thief was arrested as he was leaving the bank.

4. แสดงความหมายเกี่ยวกับ “เหตุผล” (Cause & Reason): because, since, as, seeing that, now that เช่น
Since/as/seeing that/now that you won’t help me, I must do the job myself.

He sold the car because it was too small.

ข้อสังเกต
1. Adv. Cl. ที่นำด้วย “as, since, seeing that และ now that” จะต้องวางไว้หน้า Main Clause เสมอ แต่ถ้านำด้วย “because” จะวางไว้หลัง Main Clause

2. เพื่อใช้ในความหมายเน้น (Emphasis) จะถูกนำด้วย it is, it was แล้วตามด้วย “that” เช่น
It was (only) because the car was so small that he sold it.

5. แสดงความหมายขัดแย้งกัน (Concession)-, though, although, even though, even if, whenever, however, as, whether… or not, no matter whether…or not, for all that เช่น
Though (although) he tried hard, he was not successful.
For all that he tried hard, he was………………………….
Whether he tried hard or not, he was…………………….
Whenever he tried hard, he was………………………….
However hard he tried, he was…………………………..
Hard as he tried, he was

ข้อสังเกต Relative ที่แสดงความหมายขัดแย้ง (Concession) ทุกตัว ยกเว้น however และ as จะมีโครงสร้างของประโยคตามปกติ แต่ถ้าใช้ “however” และ “as” ในความหมายขัดแย้งจะต้องวางโครงสร้างตามตัวอย่างเท่านั้น มิฉะนั้นจะมีความหมายเป็นอย่างอื่น

6. แสดงความหมายการเปรียบเทียบ (Comparison): as..as, so….as, such (a)…..as และ than และ the more…. The more…. เช่น
This work is as easy as you think.
I can not run so fast as you used to do.
That question was not such an easy one as I thought.
I used to love you more than he does now.
The more you work, the more you earn.
The more you eat, the bigger you become.

ข้อสังเกต
1. as…as, so…as สามารถใส่คำ Adjective, Adverb ไว้ในช่องว่าง’
2. such (a)…as ต้องมี Adj.+N ในช่องว่าง
3. “as….as” มักใช้กับประโยคบอกเล่า ส่วน so…as มักใช้กับประโยคปฏิเสธ
4. “than” ใช้กับการเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Degree)
5. “more” เป็นสัญลักษณ์แสดงการเปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Degree) เท่านั้น

7. แสดงความหมาย “เงื่อนไข” (Condition): if, unless (if…not), whether, as long as, supposing that, provided (that), on the condition that เช่น
I shall go if he asks me.
I shan’t go unless he asks me.

หมายเหตุ ให้ดูรายละเอียดในเรื่องประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence หรือ IF Clause)

8 แสดงความหมายบอกวัตถุประสงค์ (Purpose)-, so that, in order that, lest (= for fear that, so that…not) เช่น
Some people eat so that they may live.
Others seem to live in order that they may eat.
I am telling you this lest you should make a mistake.

ข้อสังเกต Adv. Cl. ที่แสดง Purpose นี้จะใช้ may, might, shall หรือ should ใน Clause ด้วยเสมอ เพราะแสดงความหมาย “เพียงอาจจะเป็นเท่านั้น”

9. แสดงความหมายบอกผลลัพธ์ (Result): so that, so…that, such (a)…that เช่น
I received my wages yesterday so that I can pay what I owe you.

He ran so fast that I could not catch him.
It was such a warm day that I take off my jacket.

ข้อสังเกต Adv. Cl. ที่แสดง Result นั้น นำด้วย Relative (บางคำ) เป็นชุดเดียวกับแสดง Purpose แต่ภายใน Clause จะแสดงด้วย “can, could” หรือเป็นประโยคที่แสดงความแน่นอน (Certainty)

จากตัวอย่างของ Adv. Cl. ทั้ง 9 ชุดที่แสดงให้ดูนั้น จะเห็นว่ามีการเขียนได้ 2 แบบ คือ

1. Main Clause + Subordinate Clause
ซึ่งไม่ต้องใช้ Comma (,) คั่นเลย เพราะเชื่อมด้วย Relative แล้ว

2. Subordinate Clause , Main Clause
ในกรณีเช่นนี้จะมีความหมายเป็น (Emphasis) ขึ้น และต้องใช้ Comma (,) เชื่อมเสมอ

และในกรณีที่นำ Subordinate Clause วางไว้หน้า Main Clause (ในรูปแบบที่ 2) นี้ จะพบในงานเขียนทั่วไปว่ามิได้เขียนแสดงด้วยโครงสร้าง Clause ก็มี แต่จะแสดงโครงสร้างในรูปวลี (Phrase) ที่มี Relative นำ ซึ่งเรียกว่า “อนุประโยคย่อ” (Abbreviated Clause) จะทำได้ในกรณีต่อไปนี้

1. เป็น Adverb Clause ทีแสดง Concession เช่น
Though he was beaten, he was not disgraced. = Though beaten, he was not disgraced.

2. เป็น Adverb Clause แสดง Time ในกรณีที่นำด้วย Relative “when, while, till, until, whether…or” เช่น
While he was walking in the park, he sprained his foot. = While walking in the park, he sprained his foot.

Whether it is right or wrong, his opinion does not concern me = Whether (being) right or wrong, his opinion does not concern me.

3. เป็น Adverb Clause แสดง Condition เช่น
If you take this medicine regularly, you will be better. = If taking this medicine regularly, you will be better.

ข้อสังเกต
1. Adv. Cl. ที่แสดง Concession, Time และ Condition จะทำ Abbreviated Clause ได้นั้น จะต้องมีประธาน (Subject) ใน Subordinate Clause และประธาน (Subject) ใน Main Clause เป็นคนๆ เดียวกัน

2. รูป Clause ที่ยุบไปจะกลายเป็นรูป Phrase ชนิด Participial Phrase เสมอ

ที่มา:อาจารย์ชำนาญ  ศุภนิตย์, ดร.สัญญา  จัตตานนท์,  อาจารย์สุทิน  พูลสวัสดิ์