หลักการใช้ and และ but ในภาษาอังกฤษ

By | December 24, 2014

1. and (และ) ใช้เชื่อมกลุ่มของคำนาม (nouns), คำคุณศัพท์ (adjective คำกริยาวิเศษ (adverbs), คำกริยา (verbs) หรือเชื่อมประโยค (clauses) เข้าด้วย โดย and จะเชื่อมคำชนิดเดียวกัน ที่มีความคล้อยตามกันเข้าด้วยกัน เช่น
I wrote the letter to Ladda and Somsri.
ผมได้เขียนจดหมายถึงลัดดาและสมศรี (เชื่อมคำนาม)

I’ll give you a cup of coffee and biscuit.
ผมจะเอากาแฟให้คุณ 1 ถ้วย พร้อมด้วยขนม

They and I are classmates.
พวกเขาและผมเป็นเพื่อนร่วมชั้นกัน (เชื่อมคำสรรพนาม)

A and B
2. ถ้าคำที่ and เชื่อมมีเกิน 2 คำ ให้วาง and ไว้หน้าคำหลังสุด เช่น
We drank, talked and danced.
พวกเราดื่ม, พูดคุยและเต้นรำกัน (เชื่อมคำกริยา)

I felt hot, tired and thirsty.
ผมรู้สึกร้อน เหนื่อยและกระหายน้ำด้วย (เชื่อมคำคุณศัพท์)

A, B, C and D
3. ใช้ and กับคำกริยา 2 คำ โดยมากจะนำคำกริยาที่สั้นที่สุดวางไว้หน้า and และนำคำกริยาที่ยาวกว่าวางไว้หลัง and เช่น
young and pretty สาวและสวย
cup and saucer ถ้วยและจานรองถ้วย

ข้อยกเว้น : คำบางคำที่เป็นกฎเฉพาะตายตัวไม่ต้องเอาคำสั้นขึ้นก่อน ก็ได้ เช่น
knife and fork  มีดและซ่อม
bread and butter ขนมปังทาเนย

4. ห้ามวาง and ไว้ระหว่างคำคุณศัพท์ (adjectives) ที่วางอยู่หน้าคำนาม เช่น
Thank you for your nice long letter.
ขอบคุณสำหรับจดหมายของคุณ

ห้ามใช้ : Thank you for your nice and long letter.

ข้อยกเว้น : ใช้ and เชื่อมได้เมื่อ adjectives เหล่านั้นกล่าวถึงสิ่งเดียวกัน แต่เป็นคนละส่วนกัน เช่น
red and yellow pen

5. ใช้ and เชื่อมคำ adverbs ได้ เช่น

They walk up and down smiling.
พวกเขาเดินยิ้มขึ้นไปและลงมา

6. ในภาษาพูด and สามารถวางไว้หลัง try หรือ wait ได้เลย โดยไม่ต้องมี to infinitive (to+v1 ) เช่น
I’ll try to get a newspaper.
หรือ I’ll try and get a newspaper.
ผมจะพยายามรับหนังสือพิมพ์

Try to eat something.
หรือ Try and eat something.
พยายามทานอะไรสักอย่าง

What’s for breakfast? Wait and see.
มีอาหารอะไรทานเช้านี้ คอยดูก่อน

7. ใช้ and เชื่อม clauses (ประโยค) เข้าด้วยกัน เช่น
I came here in 1880 and I have resided here ever since.
ผมมาที่นี่ในปี 1880 และได้ตั้งรกรากที่นี่ตั้งแต่นั้นมา

8. but วางไว้หลัง all, none, every, any, no, everything, everywhere, anyone, nothing, nobody, anywhere เป็นต้น จะมีความหมายว่า “นอกจาก, เว้นแต่” เช่น
I eat nothing but snacks
ผมไม่ได้ทานอะไรเลยนอกจากขนมหวาน

Everybody is shouting but Somsri.
ทุกคนต่างร้องตะโกน ยกเว้นสมศรี (ไม่ร้อง)

9. ใช้ คำสรรพนาม (pronouns) ที่แสดงความเป็นกรรม (him, her, me, them, you) วางไว้หลัง but เช่น
Nobody but him would come to pay for it.
ไม่มีใครมาจ่ายหรอก นอกจากเขา

10. ใช้คำกริยา (verb) ที่ไม่ต้องมี infinitive to วางไว้หลัง but เช่น
We do nothing but play football.
พวกเราไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากเล่นฟุตบอล

หมายเหตุ : หลัง but เป็นกริยา base form (verb ช่องที่ 1 ไม่เติม -s -es และ -ing) อีกอย่าง but จะใช้เชื่อมคำหรือประโยคเหมือน and แต่ข้อความที่เชื่อมจะขัดแย้งกัน

ที่มา:นเรศ  สุรสิทธิ์
B.A.(English), M.A.(English)