วลีภาษาอังกฤษ (Phrase)

By | September 2, 2014

วลี (Phrase) คือ กลุ่มคำ (a group of words) ที่ไม่มีกิริยาแท้ (Finite Verbs)

วลีภาษาอังกฤษ

การที่จะศึกษาเรื่องวลี (Phrase) ให้เข้าใจถ่องแท้นั้น นักศึกษาควรรับทราบเรื่องของกิริยา (Verb) ในแง่หนึ่งให้เข้าใจเสียก่อนว่า ถ้าเราแบ่งกิริยา (Verb) ตามรูปแบบ (Form) จะได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กิริยาแท้ (Finite Verbs)
2. กิริยาไม่แท้ (Non-finite Verb)

กิริยาแท้ (Finite Verbs) หมายถึง กิริยา (Verb) ที่เปลี่ยนรูปร่าง (Forms) ให้สัมพันธ์กับประธาน (Subject) ของประโยค เช่น
I am a boy.
I eat rice.
You are a boy.
He eats rice.
He is a boy.
They eat rice.

จากตัวอย่างข้างต้น จะพบว่า คำกิริยา (Verb) ทุกคำในประโยคเป็นกิริยาแท้ (Finite Verb) ทั้งสิ้นเพราะยอมเปลี่ยนรูปร่างให้สัมพันธ์กับประธาน (Subject) ของประโยคอยู่เสมอ

กริยาไม่แท้ (Non-finite Verbs) คือ กิริยาที่ไม่ยอมเปลี่ยนรูปร่างให้สัมพันธ์กับประธาน (Subject) ของประโยคเลย
เช่น

จะพบว่าส่วนของกิริยา (Verb) ประกอบด้วย 2 คำ หรือที่เรียกกิริยารูปผสม (Compound Verb) แต่กิริยา (Verb) ที่อยู่ใกล้ประธาน (Subject) ของประโยคจะยอมเปลี่ยนรูปร่างตามประธาน จึงเป็นกิริยาแท้ (Finite Verb) ส่วนกิริยาที่อยู่ไกลประธานออกไป จะไม่ยอมเปลี่ยนรูปร่างตามประธานเลย จึงเรียกว่า กิริยาไม่แท้ (Non-finite Verb)

จงสังเกตตัวอย่างต่อไปนี้อีกครั้งหนึ่ง

จาก 2 ตัวอย่างข้างบนพอจะสรุปได้ว่า ประโยคเอกกัตถประโยค (Simple Sentence) ทุกประโยคจะมีกิริยาแท้ (Finite Verb) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ส่วนกิริยาไม่แท้ (Non-finite Verb) นั้นสามารกมีได้มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป และรูปร่าง (Form) ของกิริยาไม่แท้ (Non- finite Verbs) นั้นไม่มีการเปลี่ยนรูป (Unchanged) เลย

ดังนั้น รูป (Form) ของกิริยาไม่แท้ (Non-finite Verb) จึงแน่นอนตายตัว ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 รูป ด้งนี้:-
1. Infinitive (V. หรือ To+V1)
2. Participle (V-ing หรือ V3)
3. Gerund (V-ing)

ฉะนั้น รูปวลี (Forms of Phrases) จะประกอบด้วยกิริยาไม่แท้ (Non-finite Verbs) เป็นหลัก ซึ่งนักภาษาศาสตร์ได้รวบรวมจากการที่พบเห็นบุคคลทั่วไปนิยมใช้ไว้ 6 รูป ดังนี้

1. Infinitive Phrase (วลีที่ประกอบด้วยรูป Infinitive เป็นหลัก) ซึ่งนำไปใช้ใน 3 หน้าที่ดังนี้

1.1 ทำหน้าที่เหมือนคำนาม (Noun) เช่น
1.1.1 เป็นประธาน (Subject) ของประโยค เช่น

1.1.2 เป็นกรรมตรง (Direct Object) ของกิริยา เช่น

1.1.3 .เป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน (Subjective Complement) เช่น

นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนสมบูรณ์ของกรรม (Objective Complement) เช่น

1.2 ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ (Adjective) คือ ใช้ขยายคำนาม (Noun) หรือขยายสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ (Indefinite Pronoun) เช่น

1.3 ทำหน้าที่เหมือนคำกิริยาวิเศษณ์ (Adverb) คือ ใช้ขยายคำกิริยา (Verb) ขยายคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือขยายคำกิริยาวิเศษณ์ (Adverb) อีกคำหนึ่ง เช่น

อนึ่ง ยังมีการใช้ Infinitive Phrase ในหน้าที่ Adverb อีกลักษณะหนึ่งซึ่งพบเห็นในงานเขียนทั่วไป คือ การใช้ในความหมายเน้น (Emphasis) จะวาง Infinitive Phrase ไว้หน้าประโยค ซึ่งลักษณะเช่นว่านี้ใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น เช่น

หมายเหตุ การใช้ Infinitive Phrase ในลักษณะเช่นนี้ ต้องสังเกตให้ดีว่าประธาน (subject) ของประโยคจะต้องสัมพันธ์กับ Infinitive เสมอหรือจะต้องกระทำอาการ Infinitive นั้นด้วย มิฉะนั้นจะถือว่าผิดไวยากรณ์ ซึ่งเรียกความผิดชนิดนี้ว่า “Dangling Infinitive” หรือ

“Misrelated Infinitive” เช่น

อนึ่ง มีกลุ่ม Infinitive Phrase ต่อไปนี้
To tell you the truth,………………………………………………
To hear him talk…………………………………………………..
To cut a long story short…………………………………………
To continue with what I was saying,……………………………

สามารถนำไปวางไว้หน้าประโยคทุกประโยค โดยไม่เกิดความผิด Dangling Infinitive เลย เพราะกลุ่มวลีเหล่านี้มีความหมายกว้างๆ ไม่ เจาะจงประธานของประโยคตัวใดเลย

2. Participial Phrase (วลีที่ประกอบด้วย Participle เป็นหลัก) แบ่งออกเป็น 2 รูป ดังนี้:-
1. Present Participial Phrase (V-ing)
2. Past Participial Phrase (V3)

ก่อนที่จะศึกษาการใช้ Participial Phrase ขอให้จดจำความหมายที่แฝงอยู่ใน Phrase ทั้ง 2 รูปนี้ก่อนว่า Present Par¬ticipial Phrase นั้นจะมีความหมายเป็น Active (แสดงการกระทำกิริยา) และ Past Participial Phrase จะมีความหมายเป็น Passive (ถูกกระทำโดยกิริยา) ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ ดังนี้

2.1 ทำหน้าที่เหมือนคุณศัพท์ (Adjective) คือ ใช้ขยายคำนาม (Noun) เช่น

2.2 ทำหน้าที่เหมือนกิริยาวิเศษณ์ (Adverb 1/2) คือ ใช้ขยายกิริยา (Verb) ขยายคุณศัพท์ (Adjective) และขยายกิริยาวิเศษณ์
(Adverb) อีกคำหนึ่ง เช่น

ข้อสังเกต การใช้ Participial Phrase ในหน้าที่ Adverb นั้น จะมีลักษณะเหมือนกับการใช้ Infinitive Phrase ในหน้าที่ Adverb เช่นกัน

คือ ใช้วางไว้ข้างหน้าประโยคและใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น และต้องระวังที่จะต้องให้ประธาน (Subject) ของประโยคสัมพันธ์หรือกระทำอาการ Participle ด้วย มิฉะนั้นจะถือว่าผิดไวยากรณ์ในความผิดที่ว่า “Dangling Participle” หรือ mis-related Participle  เช่น

หมายเหตุ นอกจากจะวาง Participial Phrase ในหน้าที่ Adverb ไว้หน้าประโยคแล้ว มีนักเขียนบางท่านวางไว้หลังประโยค หรือบางทีกลางประโยคก็มี

อนึ่ง มีกลุ่ม Participial Phrase บางกลุ่ม ซึ่งสามารถนำไปวางไว้หน้าประโยคทุกประโยคโดยไม่เกิดความผิด Dangling Participle เลย เพราะมีความหมายกว้างๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงประธานของประโยคตัวใด เช่น
Generally speaking………………………………………………..
Talking of football…………………………………………………..
Considering the position as a whole    ……………………………..
Roughly speaking,…………………………………………………
Allowing for extras,…………………………………………………
Strictly speaking……………………………………………………

3. Gerundial Phrase (วลีที่ประกอบด้วยรูป Gerund เป็นหลัก) ซึ่งมีหน้าที่ในประโยคเพียงประการเดียวเท่านั้น คือ ทำหน้าที่เหมือนคำนาม (Noun) เช่น

4. Prepositional Phrase (วลีที่ประกอบด้วยคำบุพบท (preposition) เป็นหลัก) ซึ่งทำหน้าที่ได้ 2 ประการ ดังนี้

หมายเหตุ ในกรณ์ที่ใช้ Prepositional Phrase เป็น Adv. ในภาษาเขียน(Written English) อาจจะเขียนได้อีกแบบหนึ่ง และให้ความหมายเน้นกว่ารูปแบบที่เขียนดังข้างต้น นั่นคือ นำ Prepositional Phrase ไว้หน้าประโยคแล้วคั่นด้วย Comma เช่น On the table, I sit ขอให้สังเกตว่าต้องมี Comma คั่นเสมอ (นอกจากบางครั้ง Prepositional Phrase เป็นกลุ่มวลีสั้นๆ อาจจะไม่ใช้ Comma คั่นก็ได้) ถ้าไม่มี Comma คั่นระหว่างประโยค จะทำให้รูปแบบของประโยคที่ตามมาข้างหลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ นั่นคือ จะต้องใช้รูปประโยคโครงสร้างพื้นที่ทันที เช่น

อย่างไรก็ดี ขอให้ทราบว่า รูปแบบลักษณะโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนี้ มักจะใช้เขียนในหนังสือนิทานของเด็กๆ เท่านั้น

5. Absolute Phrase (วลีที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง) เป็นวลี (phrase) ซึ่งสร้างมาจาก participial phrase นั่นเอง แต่มีประธาน (Subject) อยู่ข้างหน้าวลี สัมพันธ์กับวลีในกลุ่มของตนเอง และใช้ในหน้าที่ Adverb เท่านั้น จึงใช้นำหน้าประโยคได้ทุกประโยค โดยไม่เกิดความผิด “Dangling Participle” เช่น

อย่างไรก็ดี มีนักไวยากรณ์บางท่านแบ่งวลี (Phrase) ไว้เพียง 3 ชนิดเท่านั้น คือ

(1) Noun Phrase (2) Adjective Phrase (3) Adverb Phrase
นั่นคือเขาแบ่งวลี (Phrase) ตามหน้าที่ (Function) ที่มันทำงานในประโยค แต่การที่เราแบ่งเป็น 6 ชนิดข้างต้นนั้น เราแบ่งตามรูป (Form)
ของมัน ซึ่งมีประโยชน์มากกว่า เพาะเราสามารถนำไปใช้งานเขียนประโยคได้

ไม่ว่าจะแบ่งวลี (Phrase) ในลักษณะใด ก็เหมือนกันทั้งสิ้น เพราะเมื่อจัดรวมกันเข้าแล้วก็เป็นลักษณะเดียวกันนั่นเอง คือ

ที่มา:อาจารย์ชำนาญ  ศุภนิตย์, ดร.สัญญา  จัตตานนท์,  อาจารย์สุทิน  พูลสวัสดิ์