การใช้ participle

By | December 8, 2014

1. ช่วยในการสร้าง tense

present participle ช่วยสร้าง continuous tense

He is going home.
He has been living here since B.E. 2490.

past participle ช่วยสร้าง perfect tense

He has gone.
They had lived here before I came.

2. ใช้อย่างคำ adjective
คำ adjective อาจใช้ได้ 2 แบบ คือ ใช้ประกอบข้างหน้านาม (attributively) และ ใช้เป็นส่วนของกริยา (predicatively)

(ก) ใช้ประกอบข้างหน้านาม (Attributive Use)

present participle :
an exciting story             เรื่องราวที่ตื่นเต้น
disappointing news        ข่าวที่ผิดหวัง
a good-looking man       ชายรูปหล่อ
an unpromising start     การเริ่มต้นที่ไม่มีอนาคตอันแน่นอน

past participle :
the broken bottles           ขวดซึ่งแตกแล้ว
tired workers                     กรรมกรซึ่งเหน็ดเหนื่อย
the unknown soldiers    ทหารผู้ไม่ปรากฏนาม
a clean-shaven man        ชายผู้โกนหนวดเคราเกลี้ยงเกลา

(ข) ใช่หลังกริยา (Predicative Use)
present participle :
The story was very exciting.
เองนั้นตื่นเต้นมาก

He is very good-looking.
เขารูปหล่อมาก

The news is disappointing.
ข่าวนั้นเป็นที่ผิดหวัง

past participle :
The bottles were broken.
ขวดเหล้านั้นแตกเสียแล้ว

He is clean shaven.
เขาโกนหนวดเคราเสียเกลี้ยงเกลา

The workers were tired.
พวกกรรมกรมีความเหน็ดเหนื่อย

3. participle อาจทำหน้าที่กึ่งกริยากึ่งคุณศัพท์ หรือวิเศษณ์

1. He stood there watching the men at work.
เขายืนมองดูคนทำงานอยู่ที่นั่น

2. I hope Ladda didn’t keep you waiting.
ผมหวังว่าลัดดาคงจะไม่ทำให้คุณต้องรอนะครับ

3. Dang is busy cleaning the car.
แดงกำลังยุ่งอยู่กับการทำความสะอาดรถ

4. His objections, if listened to, would wreck the plan.
ถ้าหากฟังการคัดค้านของเขา ก็อาจทำให้แผนการล้มเหลว

5. He will come if asked.
เขาจะมา ถ้าหากว่าได้รับการขอร้อง

ตำแหน่งของ participle
วาง participle ไว้หน้าคำนามที่มันประกอบ เช่น
the spoken language       ภาษาพูด
the fallen tree                    ต้นไม้ซึ่งล้มอยู่
the torn sails                      ใบเรือซึ่งขาดแล้ว
the broken sword             ดาบซึ่งหักแล้ว
the written promise         คำมั่นสัญญาซึ่งเขียนเป็นหนังสือ
the singing bird                 นกซึ่งกำลังร้องเพลง
the running water             น้ำซึ่งกำลังไหล(น้ำประปา)

แต่ถ้า participle ไม่เชิงทำหน้าที่ adjective หากแต่ทำหน้าที่คล้ายกับคำกริยา (verb) แล้ว ก็ต้องวาง participle นั้นไว้หลังคำนามที่มันประกอบคล้ายๆ กันเป็น verb ของนามคำนั้น เช่น

1. This is the language spoken in England nowadays.
นี่เป็นภาษาซึ่งพูดกันในประเทศอังกฤษทุกวันนี้

2. The ship came into port, its sails torn by the gale.
เรือลำนั้นมาถึงท่า ใบของมันฉีกขาดเพราะลมพายุ

3. The knight stood still; his sword broken in the fight was useless.
อัศวินผู้นั้นยืนนิ่ง ดาบซึ่งหักเนื่องจากการต่อสู้ของเขานั้นไร้ประโยชน์เสียแล้ว

4. Here is the letter written by Ladda.
นี่คือจดหมายซึ่งลัดดาเป็นผู้เขียน

5. The birds singing in the trees filled the air with music.
นกที่กำลังร้องเพลงอยู่บนต้นไม้นั้น ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงดนตรี

6. Here is a leaflet giving full particulars of the plan.
นี่คือแผ่นกระดาษซึ่งแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของแผนการไว้ครบถ้วน

7. Will you let me know the amount of the debts still outstanding?
คุณจะให้ผมทราบจำนวนหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระได้ไหม

8. Do you know the number of the books ordered ?
คุณทราบจำนวนหนังสือที่สั่งมาหรือเปล่า

ที่มา:เลิศ  เกษรคำ