การแสดงความเป็นเจ้าของของคำนาม (The Possessive case of Nouns)

By | September 24, 2014

รูปที่แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามนั้น ถือว่ามีผลกระทบต่อกิริยา (Verb) ในประโยคด้วย เพราะอาจเป็นประธานของประโยคได้ และรูปของมันนั้นจะต้องประกอบด้วยคำนาม 2 คำเสมอ เช่น the boy’s books และ the book of the boys เมื่อเป็นเช่นนี้ จะต้องทราบว่านามตัวใดคือประธานของประโยคที่แท้จริง ซึ่งจะต้องกระทบกิริยาในประโยคต่อไป

จะสังเกตเห็นว่าถ้าแสดงด้วยรูป Apostrophe (‘) คำนามที่อยู่หลังมันจะเป็นประธานที่แท้จริง คำนามข้างหน้าเป็นแค่คุณศัพท์ส่วนแสดงด้วย “of” คำนามข้างหน้าเป็นประธานที่แท้จริง ส่วนคำข้างหลังจะเป็นคำคุณศัพท์ (=Preposition Phrase) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การแสดงความเป็นเจ้าของ ของคำนามนั้น มีวิธีสร้างรูปแบบ ดังนี้
(1.1) สำหรับคำนามเอกพจน์ โดยการเติม ‘s’ เช่น
The boy’s book (= the book of the boy)
Tom’s house (= the house of Tom)

หมายเหตุ สำหรับชื่อเฉพาะบางชื่อที่ลงท้ายด้วย “s” อยู่แล้วให้เติม Apostrophe (‘) อย่างเดียว เช่น
Hercules’ labours ; Phoebus’ horses
St. Agnes’ Eve ; Moses’ laws ; Sophocles’ plays

นอกจากนี้ยังรวมทั้งข้อความ for goodness sake ; for conscience’ sake

(1.2) สำหรับคำนามพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย “s” อยู่แล้ว ให้เติม Apostrophe (’) เท่านั้น เช่น
The boys’ houses (= the house of the boys) The soldiers’ horses of the horses of the soldiers)

(1.3) สำหรับคำนามพหูพจน์ที่ไม่ลงท้ายด้วย “s” (ซึ่งมีจำนวนน้อย) ให้เติม “s” เช่น
The men’s room the room of the men) The women’s society (= the society of the women)

The children’s voices (= the voices of the children)

2. เมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ (possessor) ประกอบด้วยคำนามหลายๆ คำ รูปแสดงความเป็นเจ้าของ (‘s) จะเติมที่คำท้ายเท่านั้น เช่น
Crosse & Black well’s jam ; Bryant & May’s matches
John, the butcher’s, shop ; my father-in-law’s house
The Prince of wales’ feathers ; my father and mother’s friends

3. รูปแสดงความเป็นเจ้าของ (‘s) ส่วนใหญ่ใช้กับชื่อของคนและกับสัตว์บางชนิด เช่น John’s friend ; Mrs. Brown’s car ; the cat’s tail ; a spider’s web แต่ถ้าใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต เราใช้ “of” แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น
the window of the room ไม่ใช่ the room’s window
และในทำนองเดียวกัน ต้องเขียนว่า
the colours of the flowers ; the noise of the traffic
the walls of the house ; the foot of the mountain

อย่างไรก็ดี มีกฎยกเว้นอยู่ 2 กรณี คือ
(3.1) ในกรณีที่คำนามแสดงความหมายเกี่ยวกับการวัด (measurement) เกี่ยวกับเวลาหรือช่วงเวลา (Time or space) เกี่ยวกับปริมาณ (quantity) เช่น a week’s holiday ; two days’ wages ; a year’s absence ; an hour’s time ; today’s post;
yesterday’s news ; a stone’s throw ; a hair’s breadth ; a shilling’s worth

(3.2) ในสำนวนบางสำนวนที่ใช้กันมานาน เช่น
at his wit’s end ; out of harm’s way ;
to your heart’s content ; in my mind’s eye ;
to get one’s money’s worth

4. ในกรณีที่คำแสดงความเป็นเจ้าของขยายคำนามซึ่งมีลักษณะแสดงการกระทำ (Action) ความสัมพันธ์ของคำนามที่มีต่อคำแสดงความเป็นเจ้าของอาจจะมีความหมายได้ 2 ลักษณะดังนี้
(4.1) นามที่แสดงความเป็นเจ้าของเป็นผู้กระทำอาการ หรือ
(4.2) นามที่แสดงความเป็นเจ้าของเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น

“Thompson’s murder” อาจมีความหมายว่า
1. นายธอมพ์สันกระทำการฆาตกรรม หรือ
2. นายทอมพ์สัน ถูกฆาตกรรม

“The King’s praise” อาจหมายถึง

1. กษัตริย์สรรเสริญใครคนหนึ่ง หรือ
2. ใครคนหนึ่งสรรเสริญกษัตริย์

ในทำนองเดียวกัน ในโครงสร้าง “of” เมื่อคำนามมีส่วนเกี่ยวข้องในลักษณะแสดงการกระทำ อาจมีความหมาย 2 ลักษณะเช่นกัน เช่น
“The love of his wife” อาจหมายถึง “การที่เขารักภรรยาของเขา’’ (= He did that for love of his wife.) หรือ ‘‘การที่ภรรยาของเขารักเขา’’ (= He was happy in the love of his wife.)

“The punishment of the teacher” อาจหมายถึง ‘‘การที่ครูกระทำการลงโทษ’’ หรือ “การที่ครูถูกลงโทษ”

จากตัวอย่างข้างต้น จะสังเกตว่า ถ้าเป็นกลุ่มที่แสดงความเป็นเจ้าของอันเดียวตามลำพังจะเกิดความยุ่งยากในการแปลความอย่างยิ่ง แต่ถ้าผูกเป็นประโยคแล้วจะมีความเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาศัยบริบท (Context) ข้างเคียงเป็นข้อความช่วยในการแปลความ

5. การแสดงความเป็นเจ้าของมักจะละได้บ่อยๆ โดยไม่ต้องใส่คำหลัก เมื่อพูดถึงเกี่ยวกับธุรกิจ, ตึกรามบ้านช่อง ฯลฯ เช่น
I must go to the butcher’s this morning, (butcher’s = butcher’s shop)
I bought this at Harridge’s (shop).
We visited St. Paul’s (Cathedral).
He was educated at Merchant Taylor’s (school)
We are having dinner at my aunt’s (house) tonight.

บางครั้งการละคำหลักเสียก็เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงคำซ้ำ เช่น
She put her arm through her brother’s (arm).

I have read some of Shaw’s plays, but none of shakespear’s. (plays)

William’s (homework) is the only homework that is never badly done.

‘Whose book is this?’ ‘It’s John’s, (book)

6. โครงสร้าง “of” ไม่สามารถใช้ในลักษณะเป็นคุณศัพท์ได้ ต้องใช้ “s” แสดงเท่านั้น เช่น
He is a ship’s carpenter. (ไม่ใช่ The carpenter of a ship)
She is a lady’s maid.
He has a doctor’s degree.
It was a summer’s day.

7. มักจะใช้ “s” แสดงความเป็นเจ้าของกับ Proper Noun มากกว่าจะใช้โครงสร้าง “of” แต่อย่างไรก็ดีบางครั้งอาจใช้โครงสร้าง “of” กับ Proper Noun เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของการวางคำ เช่น
Henry’s work แต่ The work of Henry and’ John
Scott’s Wanerly แต่ The collectted novels of Scott

นอกจากนี้ยังใช้โครงสร้าง “of” แสดงความเป็นเจ้าของกับ Proper Noun เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ “s” กับวลี หรืออนุประโยค ยาวๆ ซึ่งเป็นเพียงแต่ส่วนขยายของ Proper Noun เท่านั้น เช่น

ห้ามเขียน     ……The man whom we met’s car.

8. มีโครงสร้างการแสดงความเป็นเจ้าของในลักษณะสำนวน (Idiomatic Construction) ลักษณะหนึ่งเมื่อใช้ทั้งโครงสร้าง “of” และโครงสร้าง “s” พร้อมกัน เช่น
He is a friend of Henry’s. We saw a play of Shaw’s.

โครงสร้างสำนวนดังกล่าวคล้ายกับมีความหมายว่า “one of Henry’s friends” หรือ “one of Shaw’s plays” แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่
ข้อแตกต่างอยู่ที่ว่า “a friend of Henry’s” หรือ “a play of Shaw’s” นั้น หมายถึงว่า “Henry มีเพื่อนเพียงคนเดียว” หรือ “Shaw เขียนบทละครเพียงบทเดียวเท่านั้น”

ซึ่ง “one of Henry’s friends” หรือ “one of Shaw’s plays” หมายถึงว่า “Henry มีเพื่อนหลายคน และนั่นคือหนึ่งในจำนวนหลายคนนั้น” หรือ “Shaw เขียนบทละครหลายบทและนั่นคือหนึ่งในหลายๆ บทนั้น”

โครงสร้างเช่นนี้ดูจะมีความสำคัญยิ่งขึ้น เมื่อสังเกตความหมายของข้อความต่อไปนี้

A portrait of Rembrandt ( = ภาพที่ Rambrandt ไปให้ช่างวาดรูปตัวเอง)

A portrait of Rambrandt’s ( = ภาพที่วาดโดย Rambrandt)
หรือ
a criticism of Shaw ( = ความคิดเห็นเกี่ยวกับ Shaw)
a criticism of Shaw’s ( = ความคิดเห็นที่เกิดจาก Shaw)

ที่มา:อาจารย์ชำนาญ  ศุภนิตย์, ดร.สัญญา  จัตตานนท์,  อาจารย์สุทิน  พูลสวัสดิ์